วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

ศิลปะแต่ละสมัย

ผลงานด้านศิลปกรรมได้มีการพัฒนาการจากสู่รูปแบบที่หลากหลาย จึงมีการแบ่งแบบแผนหรือรูปแบบศิลปกรรมออกเป็นศิลปะทวารวดี ศิลปะศรีวิชัย ศิลปะลพบุรี ศิลปะสุโขทัย ศิลปะล้านนา ศิลปะอยุธยา และศิลปะรัตนโกสินทร์  ยกตัวอย่างเช่นศิลปะศรีวิชัย
 
 
 
 
จากความเชื่อที่ว่ามีอาณาจักรหนึ่งรุ่งเรีองขึ้นใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในระหว่างราวพุทธศตวรรษที่ 13-18 อาจจะมีราชธานีตั้งอยู่ใกล้กันกับเมืองปาเล็มบังในเกาะสุมาตราในปัจจุบัน นี้  บางครั้งอาณาจักรนี้อาจจะได้ครอบครองแหลมมลายูและดินแดนบางส่วนในภาคใต้ของ ประเทศไทยด้วย นักปราชญ์ทางโบราณคดีเรียกชื่ออาณาจักรนี้ว่า "ศรีวิชัย" ตามจารึกที่ค้นพบที่กล่าวมา ได้ส่งผลให้มีการเรียกชื่อศิลปกรรมที่เกิดขึ้นในภาคใต้ของประเทศไทยในช่วง ระยะเวลานั้นว่า "ศิลปะแบบศรีวิชัย"  ศิลปกรรมสกุลช่างนี้ส่วนใหญ่สร้างขึ้นเนื่องในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน และมีรูปแบบที่แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลจากศิลปะอินเดียสมัยคุปตะ หลังคุปตะ ปาละ-เสนะ และศิลปะชวาภาคกลาง ซึ่งมีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 12 หรือ 13-14 ขณะเดียวกัน ก็ยังได้พบงานสถาปัตยกรรมและประติมากรรมที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะจามและเขมรโบราณ รวมทั้งงานประติมากรรมและศิลาจารึกภาษาทมิฬ ที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนโบราณในภาคใต้ของไทยกับ ชุมชนโบราณในประเทศอินเดียตอนใต้ด้วย
 

เอกลักษณ์

 
 
 
 
ศิลปะไทยได้รับอิทธิพลจากธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในสังคมไทย ซึ่งมีลักษณะเด่น คือ ความงามอย่างนิ่มนวลมีความละเอียดปราณีต ซึ่งแสดงให้   เห็นถึงลักษณะนิสัยและจิตใจของคนไทยที่ได้สอดแทรกไว้ในผลงานที่สร้างสรรค์ ขึ้น โดยเฉพาะศิลปกรรมที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติของไทย อาจกล่าวได้ว่าศิลปะไทยสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมพุทธศาสนา เป็นการเชื่อมโยงและโน้มน้าวจิตใจของประชาชนให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนา งานศิลปะไทย หรือจิตรกรรมไทยจัดเป็นภาพเล่าเรื่องที่เขียนขึ้นด้วยความคิดจินตนาการของคนไทย มีลักษณะตามอุดมคติ ของกระบวนงานช่างไทย คือ
 

 
 
 
 
1. เอกลักษณ์ของจิตรกรรมไทย

1.เขียนสีแบน ไม่คำนึงถึงแสงและเงา นิยมตัดเส้นให้เห็นชัดเจน และเส้นที่ใช้ จะแสดงความรู้สึกเคลื่อนไหวนุ่มนวล 
2.เขียนตัวพระ-นาง เป็นแบบละคร มีลีลา ท่าทางเหมือนกัน ผิดแผกแตกต่าง กันด้วยสีร่างกายและเครื่องประดับ 
3.เขียนแบบตานกมอง หรือเป็นภาพต่ำกว่าสายตา โดยมุมมองจากที่สูงลงสู่ ล่าง จะเห็นเป็นรูปเรื่องราวได้ตลอดภาพ 
4.เขียนติดต่อกันเป็นตอน ๆ สามารถดูจากซ้ายไปขวาหรือล่างและบนได้ทั่วภาพ โดยขั้นตอนภาพด้วยโขดหิน ต้นไม้ กำแพงเมือง และเส้นสินเทาหรือคชกริด เป็นต้น 
5.เขียนประดับตกแต่งด้วยลวดลายไทย มีสีทองสร้างภาพให้เด่นเกิดบรรยากาศ สุขสว่างและมีคุณค่ามากขึ้นภาพลายไทย เป็นลายที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยมีธรรมชาติมาเป็นแรงดลบันดาลใจ โดยดัดแปลงธรรมชาติให้เป็นลวดลายใหม่อย่างสวยงาม เช่น ตาอ้อย ก้ามปู เปลวไฟ รวงข้าว และดอกบัว ฯลฯ ลายไทยเดิมทีเดียวเรียกกันว่า "กระหนก"
 
 
 
 
2.เอกลักษณ์ของประติมากรรมไทย
 

1.ไม่แสดงความแตกต่างของพื้นผิว งานประติมากรรมไทย มีเอกลักษณ์ที่เด่นชัดคือนิยมขัดแต่งผิว ให้เรียบเนียน เกลี้ยงเกลา ทำให้เกิดคุณค่าทางความงามจากความอ่อนช้อยคดโค้งของรูปและลวดลาย รวมทั้งการตัดกันระหว่างรูปกับพื้น(ช่องไฟ)
2.ไม่นิยมปั้นหรือแกะสลักคนเหมือน คตินิยมของคนไทยตั้งแต่สมัยโบราณ จะไม่มีการสร้างงานประติมากรรมเป็นรูปคนเหมือน ดังนั้นจึงไม่มีพระบรมรูปกษัตริย์ไทยที่เป็นงานประติมากรรมไทย
แต่จะสร้างพระพุทธรูปและเทวรูป เป็นสื่อแทนให้เคารพสัการะ
3.ไม่แสดงกล้ามเนื้อในรูปทรงของคนและสัตว์ งานประติมากรรมไทยมีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ อีกอย่างหนึ่งคือ ไม่แสดงกล้ามเนื้อ กระดูก และเส้นเอ็น ให้เห็นในลักษณะที่เป็นธรรมชาติเหมือนจริง
แต่จะแสดงความงามตามอุดมคติ คือความเกลี้ยงเกลา อ่อนช้อย
4.แฝงอยู่ในลักษณะของเครื่องประดับและตกแต่ง งานประติมากรรมไทยนอกจากพระพุทธรูป และเทวรูปแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นงานที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อการประดับตกแต่งอาคารสถาปัตยกรรมไทย ให้มีคุณค่าทางความงามยิ่งขึ้น เช่นลวดลายประดับฐานบานประตู และผนังของสถูป เจดีย์ โบสถ์ วิหาร
เป็นต้น
 



3. เอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมไทย

1.นิยมสร้างเรือนชั้นเดียว การสร้างเรือนไทย หรือที่อยู่อาศัยของคนไทยนั้นนิยมสร้างเป็นเรือน
ชั้นเดียว โดยยกพื้นสูงพ้นระดับดิน เพื่อไม่ให้น้ำท่วมเมื่อถึงฤดูน้ำหลาก และช่วยให้ปลอดภัยจากสัตว์ร้ายซึ่งในสมัยก่อนมีชุกชุม
2.มีโครงสร้างง่ายๆและเปิดเผย งานสถาปัตยกรรมไทยนิยมสร้างด้วยไม้และออกแบบโครงสร้างง่ายๆไม่มีความซับซ้อน ประกอบกันเป็นโครงสร้างที่มีความสมดุล ประสานกลมกลืนของชิ้นส่วนที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนสะดวกในการเรียนรู้และจดจำนำไปก่อสร้าง
3.มีหลังคาทรงสูงและมีกันสาดยื่นออกมา การสร้างหลังคาของเรือนไทยนิยมสร้างเป็นทรงสูง “รูปทรงสามเหลี่ยม” ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ไทย ทั้งนี้เนื่องจากเมืองไทยมีอากาศร้อนอบอ้าว ฝนตกชุก การสร้างหลังคาทรงสูง จะช่วยระบายความร้อนได้ดี และยังให้การไหลเทของน้ำฝนได้ดี อีกด้วยถือเป็นภูมิปัญญาของช่างไทย
4.สร้างหลังคาซ้อนกันหลายชั้น งานสถาปัตยกรรมไทยมีความงดงามอย่างเด่นชัดคือการสร้างหลังคาซ้อนกันหลายชั้น ซึ่งทำให้เกิดความงามในการจัดองค์ประกอบศิลป์ อย่างมีชั้นเชิง ซึ่งสอดคล้องกับคตินิยมที่ว่า การอาศัยอยู่ภายใต้หลังคาหรือร่มฉัตรที่ซ้อนกันหลายๆชั้นนั้น นับเป็นศิริมงคลอย่างยิ่ง
 

ลักษณะ

ศิลปะไทยได้รับอิทธิพลจากธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในสังคมไทย ซึ่งมีลักษณะเด่น คือ ความงามอย่างนิ่มนวลมีความละเอียดปราณีต ซึ่งแสดงให้เห็นถึงลักษณะนิสัยและจิตใจของคนไทยที่ได้สอดแทรกไว้ในผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้น โดยเฉพาะศิลปกรรมที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติของไทย อาจกล่าวได้ว่าศิลปะไทยสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมพุทธศาสนา เป็นการเชื่อมโยงและโน้มน้าวจิตใจของประชาชนให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนา
ภาพไทย หรือ จิตรกรรมไทย จัดเป็นภาพเล่าเรื่องที่เขียนขึ้นด้วยความคิดจินตนาการของคนไทย มีลักษณะตามอุดมคติของกระบวนงานช่างไทย คือ
1. เขียนสีแบน ไม่คำนึงถึงแสงและเงา นิยมตัดเส้นให้เห็นชัดเจน และเส้นที่ใช้ จะแสดงความรู้สึกเคลื่อนไหวนุ่มนวล
2. เขียนตัวพระ-นาง เป็นแบบละคร มีลีลา ท่าทางเหมือนกัน ผิดแผกแตกต่าง กันด้วยสีร่างกายและเครื่องประดับ
3. เขียนแบบตานกมอง หรือเป็นภาพต่ำกว่าสายตา โดยมุมมองจากที่สูงลงสู่ ล่าง จะเห็นเป็นรูปเรื่องราวได้ตลอดภาพ
4. เขียนติดต่อกันเป็นตอน ๆ สามารถดูจากซ้ายไปขวาหรือล่างและบนได้ทั่ว ภาพ โดยขั้นตอนภาพด้วยโขดหิน ต้นไม้ กำแพงเมือง และเส้นสินเทาหรือ คชกริด เป็นต้น
5. เขียนประดับตกแต่งด้วยลวดลายไทย มีสีทองสร้างภาพให้เด่นเกิดบรรยากาศ สุขสว่างและมีคุณค่ามากขึ้น

 

ประเภทของศิลปะ



จิตรกรรมไทย
หมายถึง การเขียนภาพ และการระบายสี ตามรูปแบบไทยอันได้แก่ การเขียนลวดลายไทย
การระบายสี และการปิดทองในภาพเขียนเกี่ยวกับวรรณคดี ประวัติศาสตร์ และพุทธประวัติโดยสร้างสรรค์ลงในหอสมุดไทย ตกแต่งฉากไม้ ลับแล พนักพิงบานประตู หน้าต่าง และฝาผนังในพระอุโบสถ วิหาร หอไตร ซึ่งเรียกว่า..งานจิตรกรรมฝาผนัง..ตลอดจนการเขียนลวดลายรดน้ำปิดทอง
และลวดลายบนภาชนะเครื่องใช้ต่างๆ





 

ประติมากรรมไทย
หมายถึง การปั้น การหล่อ การแกะ การสลัก อันเป็นลักษณะประจำชาติไทย ซึ่งเป็นงานที่มีลักษณะเป็น 3 มิติ ส่วนใหญ่เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปั้นและการหล่อพระพุทธรูป จึงเรียกงานศิลปะไทยประเภทนี้ว่า... ปฏิมากรรม ซึ่งหมายถึง..รูปแทนบุคคล เพื่อนำมาเคารพบูชา




สถาปัตยกรรมไทย
หมายถึง ศิลปะการก่อสร้างของไทย อันได้แก่ อาคาร บ้านเรือน โบสถ์ วิหาร วัง สถูป และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ มีลักษณะแตกต่างกันไปตามภูมิศาสตร์ และคตินิยมสามารถจัดหมวดหมู่ ตามลักษณะการใช้งานได้ 2 ประเภทคือ สถาปัตยกรรมที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ได้แก่ บ้านเรือน ตำหนักวัง และพระราชวัง เป็นต้น บ้านหรือเรือนเป็นที่อยู่อาศัยของสามัญชน ธรรมดาทั่วไป ซึ่งมีทั้งเรือนไม้ และเรือนปูน เรือนไม้มีอยู่ 2 ชนิด คือ เรือนเครื่องผูก และ เรือนเครื่องสับ ตำหนัก และวัง เป็นเรือนที่อยู่ของชนชั้นสูง พระราชวงศ์ หรือใช้เรียกที่ประทับชั้นรอง ของพระมหากษัตริย์สถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องศาสนา ได้แก่
โบสถ์,วิหาร,กุฎิ,หอไตร,หอระฆังและหอกลอง,สถูป ,เจดีย์
 
 
 
 
วรรณกรรมไทย
เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการใช้ภาษาไทย เพื่อใช้สื่อความหมาย เรื่องราวต่าง ๆ ภาษาที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสาร ได้แก่ 1. ภาษาพูด โดยการใช้เสียง 2. ภาษาเขียน โดยการใช้ตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ และภาพ 3. ภาษาท่าทาง โดยการใช้กิริยาท่าทาง หรือประกอบวัสดุอย่างอื่น ชาติไทย เป็นชาติที่มีอารยะธรรมเก่าแก่ มี ภาษที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง ทั้งภาษาพูด และภาษาเขียน นอกจากนี้ ยังมี ความคิดสร้างสรรค์ในการใช้ภาษาได้อย่างไพเราะ ถือเป็นความงามของการใช้ภาษา จากการแต่งโคลง กลอน คำประพันธ์ ร้อยแก้วต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังมีการบัญญัติคำ ราชาศัพท์ คำสุภาพ ขึ้นมาใช้ได้อย่างเหมาะสม แสดงให้เห็นวัฒนธรรมที่เป็นเลิศทางการใช้ภาษาที่ควรดำรง และยึดถือต่อไป ผู้สร้างสรรค์งานวรรณกรรม เรียกว่า นักเขียน นักประพันธ์ หรือ กวี (Writer or Poet) วรรณกรรมไทย แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ 1. ร้อยแก้ว เป็นข้อความเรียงที่แสดงเนื้อหา เรื่องราวต่าง ๆ 2. ร้อยกรอง เป็นข้อความที่มีการใช้คำที่สัมผัส คล้องจอง ทำให้สัมผัสได้ถึงความ งามของภาษาไทย ร้อยกรองมีหลายแบบ คือ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย
 
 
 
ดนตรีและนาฏศิลป์ไทย เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการใช้เสียง การจัดจังหวะ และท่วงทำนองของเสียง ด้วยการเล่นดนตรี และการขับร้องเพลง ที่มีผลต่ออารมณ์และจิตใจของมนุษย์ รวมถึงการใช้ ท่าทางประกอบเสียง การเต้น ระบำ รำ ฟ้อน การแสดงละคร ฯลฯ ที่ถ่ายทอดออกมาเป็นเอกลักษณ์ เฉพาะตัวผู้สร้างสรรค์งาน เรียกว่า นักดนตรี (Musician) นักร้อง (Singer) หรือ นักแสดง (Actor / Actress)
 

ประวัติความเป็นมา

ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้น  ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย อุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้ และพืชผลการเกษตร มีแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นสายสำคัญทอดยาวจากทิศเหนือสู่ทิศใต้ลงอ่าวไทย เมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์เช่น พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำสายนี้ รวมถึงสุโขทัยริมฝั่งแม่น้ำยม อันเป็นต้นน้ำแขนงหนึ่งที่ไหลบรรจบเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำจึงถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยหล่อหลอมศิลปวัฒนธรรมไทย ศิลปะไทยส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากอินเดียโดยเฉพาะอินเดียตอนใต้ แต่ก็นำมาปรับเปลี่ยนให้ตรงกับรสนิยมของตนเอง ศิลปะเหล่านี้มาพร้อมกับการรับอิทธิพลทางศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู และพุทธศาสนา ศิลปะไทยส่วนใหญ่จึงเกิดจากแรงผลักดันของศาสนาดังกล่าวเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม  ความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปะไทย ยังต้องเรียนรู้ศิลปะของอารยธรรมโบราณในประเทศไทย ซึ่งช่วยหล่อหลอมให้เกิดลักษณะเฉพาะของศิลปะไทยในภายหลัง อารยธรรมเหล่านี้ได้แก่ อารยธรรมทวารวดี อารยธรรมศรีวิชัย อารยธรรมขอม
 

ศิลปะในประเทศไทยระยะแรกได้รับอิทธิพลจากความเชื่อเรื่องดวงวิญญาณและอำนาจลี้ลับ
ดังจะเห็นได้ว่า เครื่องประดับร่างกายหรือภาชนะดินเผาบ้านเชียง นอกจากทำขึ้นเพื่อใช้สอยในชีวิต
ประจำวันแล้ว ยังทำขึ้นเพื่อประกอบพิธีกรรมฝังศพ ศิลปะต่อมาได้รับอิทธิพลศาสนาพราหมณ์หรือ
ฮินดูจากอินเดีย ซึ่งเชื่อว่าเผยแพร่ครั้งแรกในภาคใต้บริเวณจังหวัด กระบี่ นครศรีธรรมราช เพราะ
พบเทวรูปเก่าแก่หลายชิ้นในแถบนี้ สำหรับพุทธศาสนาฝ่ายหินยาน หรือเถรวาทเผยแพร่สู่ประเทศ
ไทย ตั้งแต่ก่อนสมัยทวารวดี แต่หลักฐานทางศิลปะส่วนใหญ่สร้างขึ้นในสมัยทวารวดี ดังพบพระ
พุทธรูปและสถูปมากมาย ซึ่งมีลักษณะคล้ายศิลปะอมราวดี คุปตะ และหลังคุปตะ ส่วนฝ่าย
มหายานเข้ามาเผยแพร่ตั้งแต่สมัยศรีวิชัย ระยะเดียวกับที่เผยแพร่สู่ชวาในประเทศอินโดนีเซีย
ส่วนใหญ่มีลักษณะคล้ายศิลปะคุปตะ  หลังคุปตะ และปาละ - เสนา ศาสนาตอนกลางของ
ตะวันออกตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัย โดยตั้งศูนย์กลางอยู่ที่เมืองละโว้หรือลพบุรี การเรียกศิลปะ
ลพบุรีจึงหมายถึงศิลปะขอมในประเทศไทยนั่นเอง ระยะต่อมาศิลปะไทยได้รับอิทธิพลพุทธ
ศาสนาฝ่ายหินยานหรือเถรวาท ซึ่งเข้ามา 2 ทาง คือ จากพุกามของพม่าและลังกา โดยส่งผล
ตั้งแต่สมัยเชียงแสนตลอดจนถึงสมัยสุโขทัยเรื่อยมา พร้อมนำแบบอย่างศิลปะพุกามและลังกา
เข้ามาด้วย แต่ศิลปะไทยยังมิอาจหลีกพ้นจากคติศาสนาพราหมณ์หรือมหายาน คติเหล่านี้ได้
ผสมผสานแทรกซึมอยู่ในศิลปะไทยตลอด โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับเทพและแผนภูมิจักรวาล นอก
จากศาสนาแล้ว สภาพภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติก็มีอิทธิพลต่อศิลปะไทยเช่นกัน
ความอุดมสมบูรณ์ของ ป่าไม้ ดิน แร่ ทำให้สถาปัตยกรรมไทยส่วนใหญ่สร้างด้วยไม้ หรือ ก่ออิฐ
ใช้ไม้แกะสลัก ดินเผา หรือ ปูนปั้นตกแต่งลวดลาย
 
ศิลปะไทยในระยะหลังยังได้รับอิทธิพลจากศิลปะอื่นๆ ไม่ว่าจะ จีน อาหรับ หรือตะวันตก
โดยเฉพาะศิลปะตะวันตกมีอิทธิพลอย่างยิ่งในสมัยรัตนโกสินทร์ นับตั้งแต่รัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา
วัฒนธรรมของชาวตะวันตกได้เข้ามามีบทบาทเกือบทุกด้าน อันเป็นเหตุให้ศิลปะไทยเสื่อมสลาย
ลง และเกิดการสร้างสรรค์ รูปแบบใหม่ๆ นอกเหนือประเพณีเดิม ศิลปะไทยปรากฎทั้งด้าน
สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม และศิลปหัตถกรรม


ศิลปะไทย



ศิลปะไทย หมายถึง
ผลงานศิลปะที่มีการคิดค้นและสร้างสรรค์ตามขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม
ไทยซึ่งมีรูปแบบและวิธีการเฉพาะที่เป็นเอกลักษณ์
โดยมีการประยุกต์สร้างสรรค์
และมีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา

 





ศิลปะไทยเป็นสิ่งที่ศิลปินครูช่างโบราณของไทยได้สร้างสรรค์ขึ้น
เป็นศิลปะที่มีเอกลักษณ์ โดยสร้างสรรค์จากอุดมคติของศิลปิน
มาสู่ความจริงตามธรรมชาติและได้มีการถ่ายทอดกันไปตามยุคสมัย
จนถึงปัจจุบัน   



ศิลปะเกิดจากแรงผลักดันภายในของศิลปิน สะท้อนความคิด ความรู้สึก ร้อน เย็น ทุกข์ โศก
ดีใจ เสียใจ เป็นการสื่อสาร และสื่อความหมาย จากความรู้สึกภายในของศิลปินแต่ละคน อีกรูปแบบหนึ่ง ที่มีความแตกต่างไปจากการใช้ภาษา พูด หรือเขียน ศิลปะไม่มีขีดจำกัดในการแสดงออก ด้วยรูปแบบวิธีการ เทคนิค เนื้อหาศิลปินเป็นส่วนหนึ่งของสังคมย่อมสะท้อน ความคิด ความรู้สึก ความเป็นไปในสังคมนั้นๆ ศิลปะไทย เป็นศิลปะที่มีเอกลักษณ์ โดยสร้างสรรค์จากอุดมคติของศิลปิน มาสู่ความจริงตามธรรมชาติและได้มีการถ่ายทอดกันไปตามยุคสมัย จนถึงปัจจุบัน